ทุกส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ของ SC Johnson จะต้องผ่านการคัดกรองที่เข้มงวดของโปรแกรม Greenlist™ (เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี) หัวใจสำคัญคือการประเมินผลแบบสี่ขั้นตอนที่อ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่ดูทั้งการก่อพิษและความเสี่ยง มีการเก็บข้อมูลชั้นยอดเป็นพื้นฐานและมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเราอย่างต่อเนื่องเป็นตัวขับเคลื่อน
เราใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในการคัดเลือกส่วนผสม ที่ต้องผ่านแต่ละขั้นตอนในการประเมินแบบสี่ขั้นตอนของเรา มีเพียงไม่กี่กรณี ที่พบว่าส่วนผสมที่ดีที่สุดที่หาได้อาจจะไม่ผ่านการประเมินหนึ่งในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อย่างเช่น ส่วนผสมที่เป็นตัวยาในยาฆ่าแมลง ในกรณีเช่นนั้น จะต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะพิจารณาระดับที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยเราต้องเพิ่มระดับของการเตือนขณะใช้งาน
การประเมินของเราจะดูเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1: ปัญหาสุขภาพระยะยาวในมนุษย์ อย่างเช่น อาจก่อให้เกิดมะเร็ง หรือโรคด้านการสืบพันธุ์ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ของเรายังรวมกฎหมาย California Proposition 65 และสำนักงานระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer monographs) ภายใต้กำกับขององค์การอนามัยโลก เราได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในขั้นตอนนี้ โดยที่ส่วนผสมส่วนใหญ่ของเราจะต้องผ่านขั้นตอนนี้ ในบรรดาส่วนน้อยที่ไม่ผ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อย่างยาฆ่าแมลง ที่เราได้กำหนดตัวแปรด้านความปลอดภัยของส่วนผสมนับพันรายการให้ต่ำกว่าระดับต่ำสุดอันอาจจะก่ออันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนที่ 2: เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว หมายถึงความเป็นไปได้ที่จะไปปรากฏ สะสม และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ที่เราเรียกกันว่าเป็น “PBT” แหล่งข้อมูลของเราในเรื่องนี้รวมถึง European Chemical Agency (ECHA), รายชื่อสารที่ก่อความกังวลระดับสูง (Substances of Very High Concern lis) ของ ECHA และ PBT Profiler รวมทั้งหลักเกณฑ์การประเมิน PBT ของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (U.S. Environmental Protection Agency) เช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1 สิ่งใดก็ตามที่ชี้ให้เห็นว่าจะเป็น PBT จะทำให้ส่วนผสมนั้นไม่ผ่านการประเมินได้ และจะเริ่มขั้นตอนการประเมินการใช้อย่างปลอดภัยดังที่จะอธิบายด้านล่างนี้
ขั้นตอนที่ 3: ความเสี่ยงอย่างเฉียบพลันที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์น้ำ แทนที่จะตรวจสอบผลกระทบระยะยาวในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ขั้นตอนนี้จะเฝ้าดูผลกระทบระยะสั้นที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น ผื่นผิวหนัง หรือการปล่อยสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยง่าย (volatile organic compounds : VOCs) เข้าสู่อากาศ แหล่งข้อมูลของเราสำหรับขั้นนี้รวมถึงข้อเท็จจริงด้านความปลอดภัยที่จัดทำโดยซัพพลายเออร์, TOXNET ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติหหรัฐฯ (U.S. National Institutes of Health) ตลอดจนคำแนะนำขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development) ความต้องการใช้งานผลิตภัณฑ์ของเราเฉพาะด้านจะมีผลต่อการประเมินผลนี้ ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการให้ยาฆ่าแมลงเป็นพิษต่อแมลงและปลอดภัยต่อมนุษย์ ดังนั้น สำหรับส่วนผสมบางอย่าง เมื่อนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์บางชนิด เราจะยินยอมให้เกิดผลในระดับที่แตกต่างกันไป
ขั้นตอนที่ 4: ผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ส่วนผสมนั้นจะทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ในผิวหนังหรือไม่ก็ตาม โปรแกรม Greenlist™ (เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี) ถูกออกแบบมาเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทั้งในผลิตภัณฑ์และตัวโปรแกรมเอง ขั้นตอนสุดท้ายคือการพิจารณาขอบเขตซึ่งข้อมูลและวิธีการจะยังคงได้รับการพัฒนา และเราอาจต้องการพิจารณาหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไปในอนาคต ในปัจจุบัน เรามุ่งเน้นที่สารก่อภูมิแพ้ผิวหนัง เราต้องการก้าวไปให้ไกลเกินกว่าแนวทางดั้งเดิมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาและนำเสนอความโปร่งใสที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราจึงได้พัฒนาขั้นตอนที่อ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และตรวจสอบจากภายนอก
เพื่อระบุสารก่อภูมิแพ้ผิวหนังและความโปร่งใส ในขณะที่ส่วนผสมเหล่านี้จะถูกใช้งานในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่เรารู้สึกว่ากฎเกณฑ์ใหม่สำหรับ Greenlist™ (เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี) ที่เพิ่มเข้ามานั้นเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค